รีโนเวท(Renovate) ในความเข้าใจง่ายๆ คือ การทำให้กลับมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งในความหมายนี้รวมไปถึงบ้านเก่า บ้านใหม่ ห้องเก่า หรือห้องใหม่ ซึ่งต้องการจะปรับโฉมให้ดูใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ หรือสไตล์ใหม่ หรือแบบเดิมก็ตาม
สำหรับบางคนงบประมาณไม่เพียงพอที่จะสร้างบ้านใหม่ จึงเลือกที่จะซื้อบ้านมือสองซึ่งประหยัดงบประมาณกว่า แล้วเลือกที่จะทำการรีโนเวทปรับปรุงทั้งหลังเพื่อให้บ้านกลับมามีสภาพใหม่ และได้บ้านในรูปแบบที่ตนเองต้องการ
บางคนสร้างบ้านใหม่ หรืออาจจะซื้อบ้านใหม่ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสภาพบ้านก็จะทรุดโทรมไปตามธรรมชาติ และอาจมีจุดที่ต้องซ่อมแซมเกิดขึ้น ทำให้การอยู่อาศัยไม่สุขสบายเหมือนเดิม เช่น รอยรั่ว รอยร้าว รอยร่อน เป็นต้น จึงต้องทำการรีโนเวท เพื่อให้บ้านกลับมาพร้อมอยู่อาศัยอย่างมีความสุข และมีสภาพเหมือนใหม่อีกครั้ง บางคนก็อาจปรับสไตล์ของบ้านไปเลยก็ได้
ภาพ : อาคารที่ทำการรื้อฝ้าเพดาดก่อนทำการรีโนเวท
บางคนจุดประสงค์ของการอยู่อาศัยเปลี่ยนไป เช่น จากอยู่กัน 2 คน ในบ้านเล็กๆ อาจจะเริ่มมีเจ้าตัวน้อย หรืออาจมีผู้สูงอายุมาอยู่อาศัยด้วย จึงต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น หรือปรับฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ หรือบางทีอาจปรับเปลี่ยนบ้านเป็นสำนักงานเล็กๆ เป็น Home Office จึงต้องรีโนเวท เพื่อให้ได้บ้านในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การดำเนินชีวิตใหม่ที่ตนเองต้องการ
บางคนเซ้งกิจการร้านค้าจากผู้อื่นเพื่อดำเนินธุรกิจของตน ซึ่งอาจมีรูปแบบของกิจการ การจัดร้าน หรือสไตล์ของร้านไม่ตรงกับความต้องการของตน จึงต้องรีโนเวท เพื่อปรับปรุงสิ่งต่างๆ ข้างต้นให้มีสภาพใหม่ พร้อมกับการดำเนินธุรกิจใหม่ของตนเอง
ภาพ : อาคารระหว่างทำการรีโนเวท
บางที ห้องต่างๆ ภายในบ้าน อาจมีรูปแบบที่ไม่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ จึงมีการรีโนเวทใหม่ เพื่อให้ได้ห้องตรงตามความต้องการ และอยู่อาศัยอย่างมีความสุขมากขึ้น
ไม่ว่าการรีโนเวทบ้านของคุณจะอยู่ในรูปแบบไหน ขอให้คิดวางแผนให้ดี มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะรีโนเวทเพื่ออะไร เพื่อเป็นการกำหนดรูปแบบ งบประมาณ และระยะเวลาให้เหมาะสม อีกทั้งควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ออกแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการรีโนเวทสูงสุด ตรงตามความต้องการ ได้งานที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับงบประมาณ และเวลาที่เสียไป ได้เห็นภาพแล้วเสร็จของงานก่อนในรูปแบบ 3 มิติ และยังได้รับคำแนะนำในเรื่องการก่อสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้างานรีโนเวทมีผลกระทบกับโครงสร้าง เช่นต้องมีการทุบ มีการตัด เติม หรือเสริมโครงสร้างเดิมนั้น มีความจำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรอย่างมาก เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และการก่อสร้างจะไม่เกิดปัญหาบานปลายอีกด้วย
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก