บ้าน คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญกับมนุษย์ บางคนในหนึ่งชีวิตอาจมีบ้านได้ หลายหลัง แต่กลับบางคน การจะมีบ้านสักหลังได้นั้น อาจเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ค่อนข้างยาก ดังนั้นหากมีโอกาสที่จะได้สร้างบ้านสักหลังในชีวิต ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกันแบบสุดๆ ใส่ใจในรายละเอียดกันทุกขั้นตอน ความฝันที่จะมีบ้าน สักหลัง นับเป็นฝันที่ยิ่งใหญ่ฝันหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ บ้านในฝัน ใครๆ ก็อยากมีด้วยกันทั้งนั้น แต่การจะสร้างบ้านในฝันสักหลังขึ้นมาได้ ต้องเตรียมตัวเตรียมการอย่างไรบ้าง จะเป็นบ้านฝันดีหรือบ้านฝันร้าย เราเรียบเรียงมาให้ ท่านได้ศึกษากันทีละขั้นตอนแล้ว ตามบทความนี้เลย
- ที่ดิน
ที่ดิน คือ ส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะส่วนใหญ่จะสร้างบ้านสักหลัง ก็ต้องสร้างกันอยู่บน ที่ดิน นอกจากจะสร้างบ้านลอยฟ้า บ้านลอยน้ำ หรือบ้านบนยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้ นั่นก็ค่อยว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง การได้มาซึ่งที่ดินนั้นก็มีด้วยกันหลายแบบ ทั้งได้รับมาจาก มรดกที่ตกทอด ซื้อมา หรือเช่า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็สามารถสร้างได้ด้วยกันทั้งนั้น - แบบบ้าน
เมื่อมีที่ดินแล้ว ก็ต้องมีแบบบ้าน ตัวแบบบ้านเองก็มีอยู่ 3 แบบใหญ่ๆ คือ แบบแจกฟรี แบบที่ซื้อมาสำเร็จรูป และแบบที่จ้างสถาปนิกออกแบบใหม่ ซึ่งทั้งสามแบบก็จะมีความ แตกต่างกันในมิติต่างๆ อย่างเช่น เรื่องราคา แบบฟรี กับแบบซื้ออาจจะถูกกว่า เพราะ ผลิตมาจำหน่ายได้ครั้งละมากๆ แต่ออกแบบใหม่จะผลิตมาครั้งละแบบ ต้องผ่านการคิด วิเคราะห์โดยสถาปนิกใหม่ ให้มีความเหมาะสมกับที่ดิน และไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย มากที่สุด หรือเรื่องฟังก์ชั่นการใช้งาน แบบที่ออกแบบใหม่ก็จะได้เปรียบกว่า เพราะ ออกแบบจากความต้องการจริงของผู้อยู่อาศัย เป็นต้น - เงินทุน
มีแบบบ้านแล้ว ต่อไปก็ต้องมีเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนที่เก็บหอมรอมริบมา หรือจะกู้ หนี้ยืมสินมาก็ตาม เงินทุนนี้ก็ต้องมีให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ และเงินทุนนี้ยังอาจรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่มีเพิ่มเติมระหว่างก่อสร้าง หรือ การตกแต่งบ้านอีกด้วย เงินทุนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเตรียมไม่พอ จากบ้านในฝัน อาจกลายเป็นบ้านฝันค้างก็ได้ - ผู้รับเหมา
เมื่อมีครบแล้วทั้งที่ดิน แบบบ้าน และเงิน ก็ถึงเวลาหาผู้รับเหมากันแล้ว ผู้รับเหมาใน ประเทศเรามีมากมายหลายเกรด หลายราคา หลายคุณภาพ มีทั้งแบบที่รับงานกันใน นามบุคคล และรับงานในนามบริษัทนิติบุคคลก็มี ซึ่งขั้นตอนการเลือกผู้รับเหมานี้ ถือ เป็นจุดพลิกเกมจุดหนึ่งเลยก็ว่าได้ หากเจอผู้รับเหมาที่ดี งานก่อสร้างก็จะดำเนินไปอย่าง ราบรื่นเรียบร้อย แต่หากเจอผู้รับเหมาไร้จรรยาบรรณขึ้นมาแล้วล่ะก็ จากบ้านในฝัน ก็ อาจกลายเป็นบ้านฝันสลายไปเลยก็ได้ - ผู้ควบคุมงาน
ที่ผ่านมาส่วนนี้อาจไม่ใช่ส่วนประกอบหลักที่เป็นที่นิยมกันนัก เพราะส่วนใหญ่จะเชื่อใจ ในคุณภาพการทำงานของผู้รับเหมา ที่มักจะวาดวิมานสวยหรูกลางอากาศให้เจ้าของ บ้านหลงฝัน แต่เอาเข้าจริงอาจแฝงไปด้วยการหลอกลวง การเอารัดเอาเปรียบ การ สอดไส้ ลักไก่ ต่างๆ นาๆ ซึ่งเจ้าของบ้านเองก็จนปัญญา เนื่องด้วยตนเองก็ไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะตรวจสอบ หรือโต้เถียงเพื่อหาความจริงในปัญหาที่เกิดขึ้นกับงาน ก่อสร้างบ้านของตน จุดนี้เองที่ทำให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งก็คือสถาปนิก หรือวิศวกร มีความสำคัญขึ้นมา เพราะเป็นผู้มีความรู้ในด้านงานก่อสร้าง จึงสามารถตรวจสอบ และ ควบคุมงานก่อสร้างให้เกิดความราบรื่นได้ หากเราเปรียบว่าขั้นตอนการว่าจ้างผู้รับ เหมาถือเป็นจุดพลิกเกมแล้วล่ะก็ การว่าจ้างผู้ควบคุมงานก็ถือว่าเป็นตัวแก้เกมดีๆ นี่เอง ซึ่งการเลือกสรรผู้ควบคุมงานนั้น ก็ให้ดูจากผลงาน ประสบการณ์ทำงานเป็นหลัก ส่วน ราคาก็มีหลากหลาย ต้องลองเปรียบเทียบและต่อรองกันดู ส่วนว่าจะว่าจ้างตอนไหนนั้น ขอแนะนำให้เริ่มว่าจ้างกันในช่วงช่วงที่มีแบบก่อสร้าง แล้วกำลังเตรียมจะจัดหา หรือทำ สัญญากับผู้รับเหมา ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะผู้ควบคุมงานจะได้ช่วยตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของแบบ ตรวจสอบสัญญา และช่วยให้คำแนะนำการเลือกผู้รับเหมาได้ด้วย
จากที่กล่าวทั้งหมดข้างต้น คงจะทำให้ท่านว่าที่เจ้าของบ้านได้เห็นภาพรวมของลำดับขั้น ตอนการเดินทางไปสู่บ้านในฝันกันได้อย่างชัดเจนขึ้น ทุกขั้นตอนล้วนสำคัญ ขอเพียงแต่ ท่านใส่ใจในการดำเนินการ เลือกแบบบ้านที่เหมาะสมกับท่านและครอบครัว เตรียมค่า ใช้จ่ายไว้อย่างเพียงพอ คัดเลือกทีมงานก่อสร้างมืออาชีพ และมีผู้ควบคุมงานที่มีความ เชี่ยวชาญ บ้านในฝันก็จะได้ออกจากฝันมาให้ท่านได้อยู่อาศัยจริงๆ ไม่ใช่เปลี่ยนเป็น บ้านฝันค้าง หรือบ้านฝันสลายไปอย่างที่กล่าวไปแล้ว
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก