ห้องนี้ใช้แอร์กี่บีทียูดี (BTU) ?
หลายคนอาจจะเคยสงสัยนะครับว่าห้องเราควรใช้ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศขนาดกี่บีทียู ดีถึงจะเหมาะสม ??
ถ้าน้อยเกิน …
ก็กลัวห้องสุดรักของเราจะไม่เย็น คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก เปลืองค่าไฟ และแอร์พังเร็วกว่าที่ควร
แต่ถ้ามากเกินไปละ ก็คงจะดีนะ ?
.. แต่เปล่าเลย แต่จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวจากความชื้นในห้องที่สูง นอกจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง
เพราะแบบนี้แหละเราจึงต้องเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ให้เหมาะสมกับห้องของเรา
โดย BTU หรือ British Thermal Unit คือหน่วยวัดปริมาณการถ่ายเทความร้อนทำให้น้ำ 1 ปอนด์อุณหภูมิเปลี่ยนไป 1 องศาฟาเรนไฮด์ แต่ในเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ บีทียู ที่เราๆเข้าใจนั้นคือหน่วยของความสามารถในการถ่ายเทความร้อนออกจากห้องต่อหนึ่งชั่วโมง
เช่น เครื่องปรับอากาศ 18,000 บีทียู (หรือ บีทียูต่อชั่วโมง) หมายความว่าเครื่องปรับอากาศตัวนี้สามารถถ่ายเทความร้อนออกจากห้องได้ 18,000 บีทียูในหนึ่งชั่วโมงนั้นเอง ส่วนในการพิจรณาว่าห้องแต่ละห้องควรใช้แอร์ขนาดเท่าไหร่นั้นสำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆไป สามารพิจรณาเบื่องต้น แบบง่ายๆตามพื้นที่ใช้สอย และวัตถุประสงคารใช้งานของห้องได้ครับ โดยนำขนาดห้อง( กว้างxยาว ) มาคูณกับ ปริมาณบีทียูต่อตารางเมตรข้างต้นได้
700 – 800 บีทียูต่อตารางเมตร
- สำหรับห้องนอน หรือห้องที่มีความร้อนน้อย (ห้องที่ไม่โดนแดดหรือโดนเล็กน้อย ฝ้าต่ำ หรือห้องที่ใช้แอร์ช่วงกลางคืน)
800 – 900 บีทียูต่อตารางเมตร
- สำหรับห้องรับแขก หรือห้องที่มีความร้อนปานกลาง – มาก (ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)
900 – 1000 บีทียูต่อตารางเมตร
- สำหรับห้องทำงาน ห้องออกกำลังกาย หรือห้องที่มีความร้อนมาก หรือฝ้าสูง(ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก อยู่ชั้นบนสุด หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)
เช่น เครื่องปรับอากาศ 18,000 บีทียู (หรือ บีทียูต่อชั่วโมง) หมายความว่าเครื่องปรับอากาศตัวนี้สามารถถ่ายเทความร้อนออกจากห้องได้ 18,000 บีทียูในหนึ่งชั่วโมงนั้นเอง ส่วนในการพิจรณาว่าห้องแต่ละห้องควรใช้แอร์ขนาดเท่าไหร่นั้นสำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆไป สามารพิจรณาเบื่องต้น แบบง่ายๆตามพื้นที่ใช้สอย และวัตถุประสงคารใช้งานของห้องได้ครับ โดยนำขนาดห้อง( กว้างxยาว ) มาคูณกับ ปริมาณบีทียูต่อตารางเมตรข้างต้นได้
ส่วนถ้าต้องการพิจารณาแบบละเอียดถี่ถ้วน อาจจะต้องพิจารณาจากหลายองประกอบ เช่น
- ขนาดห้อง
- วัตถุประสงค์การใช้งานของห้อง
- ทิศทาง หรือที่ตั้งของห้อง
- ความสูงของห้อง
- จำนวนคนที่ใช้ห้อง
- ขนาดของช่องเปิด ประตู หน้าต่าง และพื้นที่กระจก
- เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆในห้อง
- ฯลฯ
.. ซึ่งจะขอนำเสนอในโอกาศถัดไปนะครับ
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก