บ้านที่มีการอยู่อาศัย ย่อมมีการทำให้เกิดของเสีย เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะน้ำเสีย น้ำทิ้งที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ ซึ่งโดยปกติในแบบก่อสร้าง สถาปนิกจะออกแบบแนวทางระบายน้ำออกจากบ้านไว้ให้อยู่แล้ว แต่ปัญหาคือเมื่อแนวท่อระบายน้ำนั้นเดินทางมาถึงริมรั้วเขตที่ดินของบ้าน แล้วไปต่อเชื่อมกับระบบระบายน้ำสาธารณะนั้น จุดนี้เราทำได้เลยหรือไม่? หรือต้องขออนุญาตใคร? มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกันเลย
เรามาดูกฎหมายกัน…
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2549
มาตรา 39/1 ห้ามมิให้ผู้ใดระบายน้ำลงในเขตทางหลวงอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทาง หลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อ้านวยการทางหลวงในการอนุญาต ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงจะกำหนด เงื่อนไขอย่างใดก็ได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีความจำเป็นแก่งานทาง หรือเมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตได้ กระทำผิดเงื่อนไขที่กำหนดในการอนุญาต ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงจะเพิกถอนเสียก็ได้
การระบายน้ำที่กระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดผู้อำนวยการทาง หลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการดังกล่าว งดเว้นระบายน้ำลงในเขตทางหลวงทันที หรือให้รื้อถอน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำภายในเวลาอันสมควร ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง มีอำนาจรื้อถอนหรือปิดกั้นทางระบายน้ำดังกล่าวได้ โดยผู้นั้นจะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนั้น
ประเภทของอาคารที่อยู่ในเกณฑ์ต้องได้รับหนังสืออนุญาตระบายน้ำทิ้ง / เชื่อมท่อระบายน้ำก่อนดำเนินการ ประกอบด้วย
- อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
- สถานบริการว่าด้วยกฎหมายสถานบริการ ประเภทสถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
- ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข
- อาคารที่สร้างขึ้นในที่ดินของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การจัดสรรที่ดิน
- อาคารที่ประกอบกิจการเป็นร้านอาหาร
- ศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- สถานการศึกษา ที่มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ที่มีจำนวนตั้งแต่ 10 ห้องขึ้นไป
- สะพานปลาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบกิจการแพปลา
- อาคารอื่นใดที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด โดยทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
เงื่อนไข
- ห้ามมิให้ผู้ใดระบายน้ำเสีย หรือน้ำโสโครกลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำ
- ห้ามมิให้ผู้ใดระบายน้ำทิ้ง ลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำ เว้นแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคารจะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย - อาคารที่จะขออนุญาตระบายน้ำทิ้งจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับปรุงน้ำเสียให้ได้
มาตรฐานน้ำทิ้งตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด - หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร - ต้องไม่ให้กีดขวางต่อการสัญจรผ่านของประชาชน และต้องไม่เกิดความเสียหายแก่ถนน ทาง หลวง หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
- เมื่อการนั้นแล้วเสร็จหรือต้องเลิกถอนด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องทำสถานที่นั้นให้ปกติดังของเดิม ทุกประการ
- เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจะให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขการนั้นอย่างใดต้องกระทำตาม
- เมื่อกรุงเทพมหานครต้องเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ผู้ได้รับอนุญาตต้องชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่กรุงเทพมหานครทั้งสิ้น
- เมื่อผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติผิดจากข้อกำหนดตามเงื่อนไขในหนังสืออนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับนี้ กรุงเทพมหานครจะยกเลิกหนังสืออนุญาตนั้น และไม่คืนเงินค่าใช้สถานที่สาธารณะให้
- หนังสืออนุญาตใช้เฉพาะกิจการที่ขออนุญาตและมีกำหนดเวลาตามหนังสืออนุญาตเท่านั้น
- ผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำในกิจการที่ขออนุญาตนั้นทุกประการ จะอ้างบุคคลอื่นเป็นผู้รับผิดชอบแทนไม่ได้
- เมื่อกรุงเทพมหานครจะให้ยกเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตด้วยเหตุใดก็ตามผู้ได้รับอนุญาตจะ เลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตทันที โดยไม่เรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด อีกทั้งจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับทุกประการ
- ผู้ขออนุญาตยินยอมชำระเงินตามระเบียบกรุงเทพมหานครทุกประการ
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ผู้อนุญาตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
หมายเหตุ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน จะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้เรียบร้อยแล้ว
- กรณีคำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน/หรือมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุไม่ให้ สามารถพิจารณาได้ เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสารหรือเอกสารหลักฐานที่ยื่นเพิ่มเติม โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไข และ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลากำหนดในบันทึกดังกล่าว มิเช่นนั้นจะถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะลงนาม บันทึกดังกล่าว และจะมอบสำเนาบันทึกความบกพร่องดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจไว้เป็น หลักฐาน
- เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
แม้จะยาวหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์นะครับ เป็นอย่างไรกันบ้าง อ่านแล้วรู้หรือยังว่าอาคารของเราเข้าข่ายข้อหนึ่งข้อใดของกฎหมายหรือไม่ โดยสรุปก็คือ บ้านพักอาศัยทั่วไป ไม่ใช่อาคารสาธารณะ หรืออาคารพานิชย์ที่เข้าข่ายข้อกำหนดข้างต้น สามารถทำการต่อท่อระบายน้ำสาธารณะได้เลย แต่หากอาคารของเราเข้าข่ายก็ให้ดำเนินการยื่นคำร้องขอเชื่อมต่อท่อสาธารณะได้ที่สำนักโยธา หน่วยงานท้องที่ที่ทำการก่อสร้างได้เลย หรือหากสงสัยก็เข้าไปสอบถามรายละเอียดกันก่อนที่เขตนั้นๆ ได้เลยนะครับ
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก