บ้านกับทิศทางลม
สายลมช่วยพัดพาความเย็นสบายชื่นใจเข้ามายังร่างกาย ทั้งยังนำพาความร้อนและความไม่สบายตัวออกไปด้วย ทำให้เกิดอากาศถ่ายเท ดังนั้นบ้านที่ดี ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยอยู่สบายได้ต้องเป็นบ้านที่มีลมหมุนเวียน มีช่องเปิดทางเข้าออกของลมที่เหมาะสม และถูกต้องตามตำแหน่งทิศทางธรรมชาติและหลักการของลม เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศ โดยอากาศที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศที่ร้อนกว่าจะลอยตัวขึ้นสูงและอากาศที่เย็นกว่าจะเคลื่อนที่มาแทนในแนวระนาบ ดังนั้นทุกครั้งที่เราโดนลมพัดผ่านเราจึงรู้สึกเย็นสบาย ลมที่พัดผ่านตามหลักการที่กล่าวมาถือว่าเป็นลมเย็น
แต่ข้อควรระวัง คือ ลมก่อนที่จะพัดเข้าสู่ตัวบ้าน ต้องห้ามมีแหล่งกำเนิดของไอร้อน เช่น พื้นผิวถนน คอยด์ร้อนของแอร์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลมเย็น เปลี่ยนสภาพเป็นลมร้อนได้ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็มีเทคนิคป้องกันและแก้ไข ที่จะทำให้มั่นใจว่าลมที่เข้าบ้านเป็นลมเย็น นั่นก็คือการหาตัวกรองด่านสุดท้ายก่อนที่ลมจะมาถึงช่องเปิดทางเข้าบ้าน พวกบ่อน้ำ พื้นที่ร่ม ต้นไม้โปร่งๆ เป็นต้น
กระแสลมในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ
1. ลมหนาว เป็นลมที่พัดผ่านประเทศไทยในฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
โดยลมนี้จะพัดพาความหนาวเย็นเข้าสู่ประเทศไทย โดยทั่วไปในทางสถาปัตยกรรมมักจะ และสำหรับประเทศไทย ลมหนาวนี้ก็นับว่าเป็นลมที่เย็นสบายทำให้ไม่รู้สึกเหมือนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตหนาวที่ต้องหาวิธีการป้องกันลมหนาวขณะสร้างอาคาร
2. ลมร้อน เป็นลมที่พัดผ่านประเทศไทยในฤดูร้อนและฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม
โดยลมนี้จะพัดพาความชื้นเข้าสู่ประเทศไทย ‘ลมร้อน’ เป็นชื่อเรียกตามฤดูของลม ไม่ใช่ลมที่ให้ความร้อน ซึ่งเมื่อลมร้อนพัดผ่านโดนถูกตัวแล้วจะทำให้รู้สึกเย็นสบายไม่อึดอัด
จากข้างต้นเราจะพบว่า ถ้าเราสร้างบ้านให้หันหน้าไปทางทิศใต้หรือตะวันตก เราจะได้รับลมธรรมชาติได้ถึง 8 เดือนจาก 12 เดือน เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ศาสตร์ฮวงจุ้ยได้เน้นความสำคัญของการสร้างบ้านให้หันหน้าไปทางทิศใต้ ในขณะเดียวกันถ้าเราสร้างบ้านหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือตะวันออก เราจะได้รับลมธรรมชาติเพียง 4 เดือนเท่านั้น
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก