ฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท

เป็นที่รู้กันดีว่าสิ่งก่อสร้างที่ใช้คอนกรีตและเหล็กเป็นวัสดุหลัก จะเป็นตัวดูดซับและเก็บความร้อนเป็นอย่างดี แถมด้วยสภาพอากาศในประเทศไทยที่อบอวลด้วยความร้อนอยู่ตลอดเวลา ทำให้บ้านหรือสิ่งก่อสร้างยิ่งทวีความร้อนมากขึ้น

ด้วยเหตุการณ์นี้จึงมีผู้ที่คิดค้นวัสดุด้านงานก่อสร้าง ที่ช่วยบรรเทาความร้อน ที่ทำให้เกิดความไม่สบายตัวในการอยู่อาศัย และได้ผลิตแผ่นกันความร้อน หรือฉนวนกันความร้อนเพื่อนำไปติดไว้บริเวณหลังคา ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์ โดยฉนวนกันความร้อนนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ซึ่งจะมีความแตกต่างและความหลากหลายในการเลือกใช้อย่างไรบ้าง บทความนี้จึงเชิญชวนมาค้นพบคำตอบ

ฉนวนกันความร้อนแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้คือ ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น และฉนวนกันความร้อนแบบพ่น โดยแต่ละแบบก็จะแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ดังนี้

1. ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น

เป็นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปที่ติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากมีลักษณะเป็นแผ่น สามารถติดตั้งบนฝ้าเพดาน โครงผนังเบา แป และใต้จันทันได้ทันที โดยฉนวนกันความร้อนประเภทนี้มี 4 แบบด้วยกันคือ อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil), พลีเอธิลีนโฟม หรือโฟม PE, Air Bubble และใยแก้ว (Fiber Glass)

ข้อดี

  • ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก
  • ราคาถูกกว่าฉนวนแบบพ่น

ข้อควรพิจารณา

  • ง่ายต่อการเกิดความเสียหาย เพราะถ้าหากฟอยล์เกิดการฉีกขาด ความชื้นจะเข้าไปแทนที่จนทำให้เกิดความเสียหายจนหมด
  • มักเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์

2. ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น

ฉนวนกันความร้อนประเภทนี้มีให้เลือก 3 แบบด้วยกันคือ สีสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating), โพลียูริเทนโฟม (Rigid Polyurethane Foam) หรือโฟม PU และเยื่อกระดาษ (Cellulose)

ข้อดี

  • อายุการใช้งานนานกว่า
  • ไม่กระทบต่อสายไฟและดวงโคม
  • พ่นความหนาได้ตามต้องการ
  • สามารถกันเสียงได้ เช่น เสียงน้ำฝนกระทบกับหลังคา
  • สามารถพ่นภายนอกได้ เพื่อป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน

ข้อควรพิจารณา

  • ติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น
  • ละอองโฟมอาจไปติดตามส่วนต่างๆ ของบ้าน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้
  • ราคาสูงเมื่อเทียบกับฉนวนแบบแผ่น

จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตได้ว่าฉนวนกันความร้อนแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เราผู้เป็นเจ้าของบ้านก็สามารถนำข้อมูลนี้ไปพิจารณาถึงความเหมาะสมในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ เพื่อไม่ให้บ้านหรือที่อยู่อาศัยของเราร้อนเกินไป ซึ่งจะช่วยทำให้การใช้ชีวิตภายในบ้านมีแต่ความสบายมากที่สุด

ให้มืออาชีพช่วยคุณ

ติดต่อรับคำปรึกษาหรือ ติดตามข้อมูลที่มีประโยชน์จาก FIRM


Leave a Reply