อัตราการจัดเจ็บภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
อสังหาริมทรัพย์ คือ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้านและที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและอยากได้มาครอบครองด้วยกันทั้งสิ้น เพราะสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคงในชีวิต เป็นสถานที่ที่เราจะอยู่อาศัยจนตราบชั่วชีวิตของเรา อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน รวมถึงคนที่เรารักได้ ซึ่งเราคงทราบกันอยู่แล้วว่าการมีบ้านหรือที่ดินจะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีด้วย โดยก่อนหน้านี้จะมีกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่ผู้ครอบครองบ้านและที่ดินจะต้องเสียอัตราภาษีในแต่ละปี จนถึงปัจจุบันได้ยกเลิกกฎหมายภาษีโรงเรือน และออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาแทน โดยกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ร่างขึ้นมาใหม่นี้ มีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยสามารถชำระภาษีได้ในเดือนสิงหาคม 2563
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีใหม่ที่มาแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยอัตราการเรียกเก็บภาษีนี้ก็จะมีการแบ่งรายละเอียดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
เป็นที่ดินที่ใช้ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 75 ถึง 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 100 ถึง 500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% ของฐานภาษี
*ที่ดินมีอัตราเพดานเรียกเก็บภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.15% ของฐานภาษี
*บุคคลธรรมดายกเว้น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกิน 50 ล้านบาท
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มีรายละเอียดการจัดเก็บอัตราภาษี ดังนี้
กรณีที่ 1 เป็นเจ้าของเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว (หลังหลัก)
- ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 10 ถึง 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ถึง 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 75 ถึง 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% ของฐานภาษี
กรณีที่ 2 เป็นเจ้าของทั้งสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน (หลังหลัก)
- ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ถึง 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 75 ถึง 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% ของฐานภาษี
กรณีที่ 3 บ้านหลังอื่น
- ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ถึง 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 75 ถึง 100 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.05% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียอัตราภาษี 0.1% ของฐานภาษี
กรณีที่ 4 คอนโดมิเนียม
- ในกรณีที่บางคนมีคอนโดฯ หลายห้อง จะต้องไปดูสัญญาการจดทะเบียน ว่าเป็นห้องอยู่อาศัย หรือห้องอื่นๆ โดยหากเป็นห้องอื่นๆ จะต้องมีการจ่ายภาษีตามอัตราที่กำหนด ส่วนถ้าหากมีคอนโดฯ เพื่อปล่อยเช่า จะต้องมีการจ่ายภาษีมากกว่าบ้านหลังหลักตั้งแต่ 0.03% ของฐานภาษีเป็นต้นไป
*ที่ดินมีอัตราเพดานของการเรียกเก็บภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.3% ของฐานภาษี
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
ที่ดินลักษณะนี้ เช่น ร้านค้าโชว์ห่วย, ปั๊มน้ำมัน, อพาร์ทเมนต์, บ้านและคอนโดฯ ที่ปล่อยเช่า เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 10 ถึง 50 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.3% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ถึง 200 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.4% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 200 ถึง 1,000 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.5% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ถึง 5,000 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.6% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียอัตราภาษี 0.7% ของฐานภาษี
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
กรณีที่ 1 ที่ดินว่างเปล่า แต่มีการทำประโยชน์บนที่ดิน โดยไม่ปล่อยให้รกร้าง มีรายละเอียดดังนี้
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 10 ถึง 50 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.3% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ถึง 200 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.4% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 200 ถึง 1,000 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.5% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ถึง 5,000 ล้านบาท เสียอัตราภาษี 0.6% ของฐานภาษี
- ที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียอัตราภาษี 0.7% ของฐานภาษี
*ที่ดินมีอัตราเพดานการเรียกเก็บภาษีสูงสุดทั้งหมดไม่เกิน 1.2% ของฐานภาษี
กรณีที่ 2 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ปล่อยร้าง โดยไม่มีการทำประโยชน์
- มีอัตราการเสียภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกๆ 3 ปี
*ที่ดินมีอัตราเพดานการเรียกเก็บภาษีสูงสุดไม่เกิน 3% ของฐานภาษี
อัตราการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากศึกษา เรียนรู้ วิธีการคำนวณอัตราของภาษีแล้ว ก็จะทำให้เราสามารถทำประโยชน์บนพื้นที่ของเราให้คุ้มค่าที่สุดได้ อีกทั้งเมื่อเข้าใจหลักการจริงๆ แล้วยังสามารถจัดการบริหารที่ดินเพื่อใช้ในการลดอัตราการเรียกเก็บภาษีได้อีกด้วย
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก