“การวางแผน และการเตรียมการที่ดี เป็นหนึ่งปัจจัยที่จะนำมาซึ่งผลลัพท์ที่น่าพึงพอใจ หากต้องการงานก่อสร้างที่ดี การใส่ใจเรื่องการวางแผน และเตรียมการ จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้”
หากได้ติดตามบทความของเราอย่างต่อเนื่อง ผู้อ่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่ากระบวนการบริหาร และจัดการงานก่อสร้างโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ อันได้แก่
- ช่วงก่อนการก่อสร้าง (Pre-Construction Process)
- ช่วงระหว่างการก่อสร้าง (Construction Process)
- ช่วงหลังการการก่อสร้าง (Post-Construction Process)
บทความนี้ เราจะลงรายละเอียด เพื่อขยายความ และสร้างความเข้าใจเฉพาะในขั้นตอนกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ให้ผู้อ่านได้นำไปศึกษา วิเคราะห์ และปรับใช้ เพื่อให้งานก่อสร้างของผู้อ่านมีประสิทธิภาพ ช่วยลด และควบคุมการเกิดปัญหา ทำให้งานก่อสร้างราบรื่นยิ่งขึ้น
กระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ ขาดไม่ได้ และขอเน้นย้ำว่าไม่ควรขาดขั้นตอนกระบวนการนี้ หากต้องการให้งานก่อสร้าง เป็นงานก่อสร้างที่ดี ดำเนินการอย่างราบรื่น และไม่เกิดปัญหากวนใจ เนื่องจากกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process จะเป็นขั้นตอนแรกในการเตรียมการ และวางแผน เพื่อจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น และเหมาะสมสำหรับการก่อสร้างทั้งหมด หากเปรียบกับการเดินทาง อาจเปรียบได้ว่าเป็นการเตรียมตัววางแผนเส้นทาง เตรียมสัมภาระ กำหนดพาหนะ รวมถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็ว่าได้ ซึ่งหากเตรียมการการในส่วนนี้ไม่ดี ก็อาจทำให้การเดินทางพบเจออุปสรรคที่ไม่ควรจะเกิดก็ได้ ซึ่งการก่อสร้างเองก็อาจจะพบกับปัญหานั้นเช่นกัน หากเตรียมการก่อสร้างช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ได้ไม่ดีพอ
กระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ช่วยให้เจ้าของงานก่อสร้างสามารถเตรียมการเพื่อให้ได้ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น และเหมาะสมสำหรับงานก่อสร้าง อันได้แก่
1. ที่ปรึกษางานก่อสร้าง
ที่ปรึกษางานก่อสร้าง คือ วิศวกร หรือสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้บริหารจัดการงานก่อสร้าง เพื่อให้ได้งานก่อสร้างที่มีความเหมาะสม ตรงตามแบบ และมาตรฐานการก่อสร้าง จึงจัดได้ว่ามีความสำคัญและควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรก เป็นส่วนสำคัญที่เจ้าของงานต้องเลือกด้วยตนเอง หากต้องการที่จะทำการก่อสร้างโครงการใดๆ ก็ตาม เพราะหากสามารถเลือกที่ปรึกษางานก่อสร้างที่ดีได้แล้ว เสมือนเป็นการเริ่มต้นก้าวแรกที่ดี เพราะที่ปรึกษางานก่อสร้างจะเป็นตัวช่วยเจ้าของโครงการในส่วนกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process เพื่อจัดหา และเลือกสรรปัจจัยอื่นที่ๆ เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่จัดหาผู้ออกแบบ เตรียมการปัจจัยต่างๆ ไปจนถึงการจัดหาผู้รับเหมา
2. ผู้ออกแบบ
แบบก่อสร้างที่ดีช่วยให้งานก่อสร้างราบรื่น เราจึงควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนการออกแบบ และการคัดเลือกผู้ออกแบบ ผู้ออกแบบ คือ ทีมสถาปนิก และวิศวกร ผู้มีหน้าที่ร่างรูปแบบของอาคาร หรืองานก่อสร้างออกมาเป็นรูป หรือแบบที่ตรงตามคอนเซ็ปต์ และระบุรายละเอียด สเปค ขนาด คุณสมบัติต่างๆ ได้ชัดเจน ตามมาตรฐานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ตรงความต้องการ และปัจจัยที่เจ้าของอาคารกำหนด ในส่วนนี้อาจรวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ(Feasibility) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(E.I.A.)ด้วย หากมีความจำเป็น ซึ่งการคัดเลือกจะผู้ออกแบบที่ดีได้นั้น จำเป็นต้องพิจารณาความพร้อมในหลายๆ ด้าน อันได้แก่ คุณสมบัติ ความพร้อม และครบถ้วนของสายงานในทีม, ผลงานที่ได้ออกแบบมาก่อน, ความเชี่ยวชาญ, ความเป็นมืออาชีพ รวมถึงราคาที่เหมาะสม เป็นต้น
3. การขออนุญาตก่อสร้าง
การขออนุญาตก่อสร้าง อาจเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจ และไม่มีประสบการณ์ เพราะต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานราชการ และต้องเตรียมเอกสารให้ได้ตามข้อกำหนดกฎหมายควบคุมอาคาร ดังนั้น จึงควรมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาดูแลกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ซึ่งก็คือที่ปรึกษางานก่อสร้าง เพื่อไม่ให้งานก่อสร้างเกิดปัญหา ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
4. งบประมาณการก่อสร้าง
การมีกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ที่ดี มีส่วนช่วยในการควบคุมงบประมาณการก่อสร้าง เพราะสามารถกำหนด และปรับปรุงแบบ ตลอดจนการเลือกสรรวัสดุต่างๆ เพื่อให้ได้ราคาค่าก่อสร้างที่เหมาะสมตามงบประมาณที่ตั้งไว้ เพราะที่ปรึกษางานก่อสร้างจะช่วยตรวจสอบแบบ และ BOQ. เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของวัสดุ ราคา ตลอดจนวิธีการก่อสร้าง และให้คำแนะนำเจ้าของโครงการตามมาตรฐานทางวิชาชีพ เพื่อให้ราคาค่าก่อสร้างเหมาะสมที่สุด
5. แผนงานก่อสร้าง
กระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process ที่ปรึกษางานก่อสร้างจะเป็นผู้ตรวจสอบแผนงานก่อสร้างหลักให้ออกมาเหมาะสมที่สุด มีการจัดประชุมร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อหาแนวทาดำเนินการ และข้อสรุปร่วมกัน เพื่อให้เกิดแผนงานก่อสร้างที่ทุกฝ่ายยอมรับ และสามารถใช้บริหารจัดการงานก่อสร้างได้
6. ผู้รับเหมา
อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยเกือบจะสุดท้าย ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process เลยก็ว่าได้ ผู้รับเหมาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้งานก่อสร้างนั้นแล้วเสร็จ หรือไม่เสร็จ ได้ผู้รับเหมาดีก็ถือว่าเป็นโชค แต่ถ้าได้ผู้รับเหมาแย่ๆ ก็คงต้องน้ำตาตกกันไป ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับเหมาจึงสำคัญมาก จำเป็นต้องมีแบบก่อสร้าง และเตรียมการเรื่องเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยเสียก่อน ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับเหมา มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลากหลายเช่นกัน อันได้แก่ ประวัติการทำงาน, ผลงานที่แล้วเสร็จ, เงินทุนหมุนเวียน, ทุนจดทะเบียน(กรณีนิติบุคคล), บุคลากร, ความพร้อมของคนงาน, เครื่องจักร, เครื่องมือ ฯลฯ เพื่อคัดเลือกมาเจรจาเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ตามสัญญา ต่อรองราคาค่าก่อสร้าง ซึ่งควรต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาคัดเลือก เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี และเหมาะสม
กระบวนการบริหารงานก่อสร้างในช่วงก่อนการก่อสร้าง หรือ Pre-Construction Process เป็นกระบวนการสำคัญในการกำหนดทิศทางงานก่อสร้างว่าจะราบรื่น เหมาะสมหรือไม่ จากข้างต้นคงพอจะทราบแล้วว่าการมีกระบวนการนี้ จะช่วย หรือสร้างประโชน์อะไรให้กับเจ้าของงานก่อสร้าง หรือเจ้าของโครงการได้บ้าง การเลือกที่ปรึกษางานก่อสร้างเพื่อมาบริหารงานในส่วนดังกล่าวจึงมีความจำเป็น และยิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรเลือกที่ปรึกษางานก่อสร้างจากหน่วยงาน หรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ และมีความเป็นมืออาชีพ เพื่องานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรืออาคารอันเป็น
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก