สำหรับปัญหาเรื่องน้ำรั่ว น้ำซึม คงจะเป็นปัญหาที่หลายคนภาวนาไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้าน เพราะหากเกิดขึ้นมาแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่จะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกเป็นขบวน อย่างเช่น น้ำรั่วจากห้องน้ำ ไหลซึมลงมาใต้พื้นลงฝ้า ฝ้าพัง ไหลต่อไปหาผนังลงไปหาปลั๊กไฟ โอ๊ย!! น่าปวดหัวน่าดู และคงไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกันใช่ไหมล่ะครับ ผมก็ช่วยภาวนาเช่นกันว่าขออย่าให้ปัญหานี้เกิดขึ้นกับใครเลย
แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว ก็อย่าเพิ่งท้อใจ ปลงกับชีวิตไปล่ะครับ ทุกปัญหามีทางแก้ไข บทความนี้เรารวมรวมปัญหาจากที่ทีมตรวจบ้านไปเจอมา ซึ่งคิดว่าค่อนข้างจะคลอบคลุมพอสมควร ลองไปดูกันว่าปัญหาของคุณเข้าข่ายกรณีไหน และศึกษาวิธีดำเนินการแก้ไปเอาไปปรับใช้กันได้เลยครับ
กรณีที่ 1 : พบว่าน้ำดีรั่ว
เนื่องจากได้ยินเสียงปั๊มพ์ทำงานผิดปกติ (ไม่เปิดน้ำก็ทำงาน) หรือไม่ได้ใช้น้ำ แต่มิเตอร์ประปาก็หมุนอยู่ หรือพบรอยเปียกบริเวณฝ้าเพดาน หรือเอาท์เลทบริเวณต่างๆ เปียกหรือชื้นตลอดเวลา
การแก้ปัญหา >>>
- ตรวจสอบไปตามไลน์ท่อประปาหาจุดการรั่วซึม โดยไล่ตั้งแต่ไลน์ที่ออกจากมิเตอร์ ไปจนออกเอาท์เล็ททุกตัวพบแล้วให้บันทึกไว้
- วิเคราะห์ว่าการรั่วนั้น จะส่งผลกระทบกับระบบอื่นภายในบ้านหรือไม่? เช่นรั่วแล้วลงฝ้าหรือไม่ รั่วแล้วไปหาอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วจะเกิดการช็อตหรือไม่
- หากพบว่าจะส่งผลกับระบบอื่นๆ ให้รีบปิดวาล์วป้องกันน้ำไหลในทันที
- ตามช่างเทคนิคมาทำการซ่อมแซมจุดรั่ว และเก็บงานในส่วนเกี่ยวพันอื่นๆ
>> โดยหลักการเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
- น้ำรั่วซึมภายในผนัง ให้ปิดวาล์วน้ำเข้าเปิดน้ำทิ้งให้หมดสาย แล้วถอดอุปกรณ์ตรงเอาท์เล็ทออก แล้วพันเกลียวอุปกรณ์ใหม่ถ้ายังไม่หายแสดงว่ารั่วที่ท่อ ต้องกรีดผนังเปลี่ยนท่อที่รั่ว แล้วจึงซ่อมผนังอีกที
- น้ำรั่วบริเวณท่อ ข้อต่อ ข้องอ เกิดจากการทาน้ำยาประสานท่อไม่เรียบร้อย ต้องตัดต่อท่อใหม่หากท่อฝังผนัง หรือฝังพื้นอยู่ ก็ต้องรื้อกันก่อนซ่อมท่อ แล้วค่อยซ่อมพื้น หรือผนังอีกทีถ้าหากฝังอยู่ในดินก็ง่ายหน่อย แค่ขุดดินอย่างเดียว
- น้ำรั่วที่อุปกรณ์เอาท์เล็ท ให้แก้โดยวิธีพันเกลียวใหม่ หากไม่หายแสดงว่าอุปกรณ์มีปัญหาให้เคลมกับทางผู้ขายสินค้าทันที
ภาพ : มิเตอร์น้ำ
กรณีที่ 2 : พบว่าน้ำทิ้งรั่ว
เนื่องจากพบการซึมของน้ำหลังจากมาการเปิดน้ำทิ้ง เช่น กดชักโครกอาบน้ำ เปิดน้ำที่อ่างล้างหน้า
การแก้ปัญหา >>>
- ตรวจสอบบริเวณการรั่ว
- วิเคราะห์ว่าการรั่วนั้นเกิดจากอะไร ตามวิธีการตรวจสอบ “7 ขั้นตอนง่ายๆ ในการทดสอบระบบระบายน้ำและกันซึม”
- ตามช่างเทคนิคมาแก้ปัญหา
>> โดยหลักการเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
- บริเวณ Floor Drain ให้สกัดพื้นบริเวณนั้น ถอด Floor Drain ออก แล้วทากันซึมใหม่
แล้วจึงค่อยใส่คืนตามเดิม - รั่วเพราะยาแนวหลุด มีรูตามด ให้ทำการกรีดร่องยาแนวออก ทำความสะอาดแล้วยาแนวใหม่
- รั่วเพราะพื้นห้องน้ำไม่ได้ทากันซึม ต้องรื้อกระเบื้องพื้นออกทั้งหมด และรื้อกระเบื้องผนังออก 1 แถวล่างจากนั้นทาน้ำยากันซึมชนิดทาภายในห้องน้ำแล้วจึงปูกระเบื้องกลับคืนจุดเดิม
- รั่วบริเวณสะดืออ่าง หรือท่อน้ำทิ้งที่ผนัง จะเกิดจากการซีนไม่ดี ลืมใส่ลูกยางหรืออาจจะหมุนเกลียวไม่สุด ก็ให้แก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ ถ้าไม่หายแสดงว่าอุปกรณ์มีปัญหา ให้เคลมกับทางผู้ขายสินค้าทันที
ภาพ : เตรียมการขังน้ำเพื่อทดสอบการซึมของน้ำในห้องน้ำ โดยใช้เทปกาวปิดรูระบายน้ำในห้องน้ำ
กรณีที่ 3 : ขอแถม!!
หากพบน้ำขังบนพื้นในห้องน้ำ แสดงว่าการเทสโลปที่พื้นไม่ดีเท่าที่ควรให้แก้ไขโดยให้ช่างเทคนิคปรับระดับพื้นให้น้ำไหลลงไปทางที่ระบายน้ำ(Floor Drain) ซึ่งตามธรรมชาติน้ำจะไหลจากที่สูง ลงไปสู่ที่ต่ำเสมอ
อ่านมาถึงตรงนี้ คงทำให้คุณได้ทราบวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นหากพบการรั่วซึมของน้ำเกิดขึ้นในบ้านกันบ้างไม่มากก็น้อยแล้ว ซึ่งหากปฏิบัติตามวิธีที่เราเสนอไปจะช่วยให้ปัญหาไม่ลุกลามบายปลาย จากปัญหาที่ใหญ่อาจจะเล็กลง หรือบางปัญหาคุณก็อาจจะแก้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกช่างมาก็ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ขออวยพรอย่าให้ได้เจอปัญหาเหล่านี้กันเลยนะครับ
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก