วิธีเลือกขนาดถังเก็บน้ำเพื่อใช้ในบ้าน
เคยมีประสบการณ์ตรงต่อการที่น้ำไม่ไหลกันหรือไม่ ส่วนใหญ่ก็น่าจะมาจากการซ่อมท่อประปาของระบบประปาและระบบสุขาภิบาล ถ้าโชคดีเราก็อาจจะได้รับการแจ้งเวลาของการงดใช้น้ำชั่วคราว แต่ถ้าอยู่ดีๆ ตื่นนอนมาจะเข้าห้องน้ำ จะอาบน้ำเพื่อไปทำงาน หรือทำธุระข้างนอกก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าหัวเสียน่าดู ซึ่งปัญหานี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการลงทุนเพียงสักนิด เพื่อซื้อถังเก็บน้ำไว้สำรองใช้ยามฉุกเฉิน แล้วรู้กันหรือไม่ ว่าเราควรใช้ถังเก็บน้ำแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับบ้านของเรา
โดยปกติการวางถังเก็บน้ำจะมีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ ถังเก็บน้ำใต้ดินและถังเก็บน้ำบนดิน ซึ่งข้อแตกต่างของถังเก็บน้ำทั้งสองประเภทก็คือ ถังเก็บน้ำใต้ดินเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องการให้บ้านมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ไม่ต้องมีวัตถุชิ้นใหญ่มาวางรุงรังเปลืองเนื้อที่ใช้สอยของบ้าน แต่ก็จะมีความยุ่งยากในการติดตั้ง เนื่องจากต้องมีการฝังฐานรากของเสาเข็มเพื่อให้มีความแข็งแรง ซึ่งค่าบำรุงรักษาก็ย่อมสูงตามมาแน่นอน ส่วนถังเก็บน้ำบนดินก็จะตรงกันข้ามกับถังเก็บน้ำใต้ดิน คือ มีความเกะกะรุงรังและเปลืองเนื้อที่ใช้สอยของบ้าน แต่การติดตั้งและการบำรุงรักษาถือว่าไม่ใช่ปัญหาสำหรับถังเก็บน้ำแบบนี้แน่นอน
สำหรับขนาดของถังเก็บน้ำที่เหมาะสมนั้น ต้องอิงกับปริมาณการใช้น้ำของสมาชิกภายในบ้าน ซึ่งโดยปกติเราจะใช้น้ำต่อคนโดยเฉลี่ย 200 ลิตรต่อวัน ดังนั้นจึงสามารถนำตัวเลข 200 นี้ไปคูณกับสมาชิกภายในบ้าน
ยกตัวอย่างเช่น บ้านเรามีคนอยู่ทั้งหมด 5 คน ก็เท่ากับว่าต้องซื้อถังเก็บน้ำประมาณ 200 x 5 = 1,000 ลิตร
หากคิดการณ์ไกล อยากสำรองน้ำไว้ใช้ฉุกเฉินมากกว่าหนึ่งวัน ก็นำจำนวนตัวเลขที่คิดได้เมื่อสักครู่ คูณกับจำนวนวันที่ต้องการ เช่น ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ 2 วัน ก็เท่ากับว่าต้องซื้อถังเก็บน้ำประมาณ 1,000 x 2 = 2,000 ลิตร นั่นเอง
ทั้งนี้ จากข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำโดยเฉลี่ยต่อคนในแต่วัน ซึ่งบางคนอาจใช้น้ำมากกว่าหรือน้อยกว่า 200 ลิตร ได้ ดังนั้นเราสามารถนำค่าประมาณของปริมาณถังเก็บน้ำโดยเฉลี่ยนี้ มาเพิ่มหรือลดขนาดถังเก็บน้ำ ได้ตามปริมาณการใช้งานของผู้อยู่อาศัย
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก