ในแต่ละที่ แต่ละละวงการ ย่อมมีคนหลากหลายประเภท แตกต่างกันออกไป วงการก่อสร้างก็เช่นกัน มีทั้งคนดีมีจรรยาบรรณ ทำงานโปร่งใส ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และคนไม่ดีที่คอยจ้องจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่เป็นนิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาชีพ…ผู้รับเหมา แน่นอนว่า ในเบื้องต้นก่อนที่จะมีการจ้างงานกัน เราอาจจะสแกนมาแล้วว่าผู้รับเหมาที่เราเลือกคนนี้ เป็นคนโอเค ไว้วางใจได้ แต่ถ้าเลือกมาแล้ว หลังจากเริ่มงานแล้ว ภาพที่เราเห็นมันกลับไม่เหมือนที่คุยกันไว้ล่ะ เราจะทำอย่างไร
บทความนี้ เราจะมาบอกทั้งวิธีแก้ไข และวิธีป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผู้รับเหมาที่ไม่ดี พร้อมแล้ว…ไปดูกันเลย
- เริ่มด้วย เราต้องมีแบบก่อสร้างที่ชัดเจน
- มี BOQ. ที่ครอบคลุมแบบก่อสร้าง ระบุสเปควัสดุ ขั้นตอน และวิธีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
- มีแผนงานที่ชัดเจน ระบุกำหนดการ ช่วงเวลา ระยะเวลา ตามขั้นตอนการทำงานอย่างเหมาะสม
- มีสัญญาที่เป็นกลาง เป็นธรรม มีเหตุผล ระบุงวดงานชัดเจน มีการแบ่งงวดงาน เหมาะสมตามราคาและปริมาณงาน การรับประกันผลงาน ค่าปรับหากงานล่าช้า การคิดงานเพิ่ม-งานลด ขั้นตอนการเบิกจ่าย ฯลฯ พยายามเขียนทุกอย่างให้ชัดเจนที่สุด และเป็นที่ยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย
- หากมีการพูดคุยกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงงาน และไม่ตรงตามแบบก่อสร้าง ให้ทำหนังสือขออนุมัติแบบ ขั้นตอนก่อสร้าง และราคาทุกครั้ง ห้ามพูดคุยปากเปล่า
- ตรวจสอบการใช้วัสดุ และขั้นตอนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ว่าตรงตามที่ตกลงหรือไม่ ในส่วนนี้อาจต้องปรึกษาสถาปนิก หรือวิศวกร เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะบางกรณีอาจเป็นขั้นตอนเชิงเทคนิค
- อย่าให้เบิกเงินเกินจากที่ตกลงในสัญญา แต่หากมีความจำเป็นในบางกรณี ให้พิจารณาความเหมาะสม และให้เบิกโดยมีเงื่อนไข หากลองให้เบิกแล้ว ผู้รับเหมาไม่มีสัจจะทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลง ก็จะไม่มีการให้เบิกเป็นครั้งที่สองอีก
- หากมีการผิดสัญญาก่อสร้าง ผิดข้อตกลง ให้ตักเตือนก่อน เพราะบางทีอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่หากผิดเรื่องเดิม ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ต้องพิจารณายกเลิกสัญญา
- พยายามทำงานตามขั้นตอน มีเหตุมีผล มีระบบแบบแผน มีบันทึกข้อตกลง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหา และแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ได้ง่าย
- ปรึกษาสถาปนิก วิศวกร หรือที่ปรึกษางานก่อสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในงานก่อสร้าง หรือช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และเป็นระบบแบบแผนตามมาตรฐานงานก่อสร้าง
สำหรับลำดับขั้นตอน 10 ข้อข้างต้น คงจะช่วยให้ท่านเจ้าของบ้านเห็นแนวทางการบริหารจัดการ หรือการวางแผนที่จะสร้างบ้านกันได้มากขึ้น แต่อย่างไรเสีย ก็ขอให้เข้าใจว่างานทุกงานล้วนมีปัญหา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการกับปัญหานั้นอย่างไรให้เหมาะสมต่างหาก และสุดท้ายด้วยความปรารถนาดี เพื่อให้งานก่อสร้างของทุกท่านราบรื่น ได้มาตรฐาน เรายินดีให้คำปรึกษากับทุกท่านด้วยความยินดีทุกเมื่อ
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก