ในแต่ละที่ แต่ละละวงการ ย่อมมีคนหลากหลายประเภท แตกต่างกันออกไป วงการก่อสร้างก็เช่นกัน มีทั้งคนดีมีจรรยาบรรณ ทำงานโปร่งใส ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และคนไม่ดีที่คอยจ้องจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่เป็นนิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาชีพ…ผู้รับเหมา แน่นอนว่า ในเบื้องต้นก่อนที่จะมีการจ้างงานกัน เราอาจจะสแกนมาแล้วว่าผู้รับเหมาที่เราเลือกคนนี้ เป็นคนโอเค ไว้วางใจได้ แต่ถ้าเลือกมาแล้ว หลังจากเริ่มงานแล้ว ภาพที่เราเห็นมันกลับไม่เหมือนที่คุยกันไว้ล่ะ เราจะทำอย่างไร

บทความนี้ เราจะมาบอกทั้งวิธีแก้ไข และวิธีป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผู้รับเหมาที่ไม่ดี พร้อมแล้ว…ไปดูกันเลย

  1. เริ่มด้วย เราต้องมีแบบก่อสร้างที่ชัดเจน
  2. มี BOQ. ที่ครอบคลุมแบบก่อสร้าง ระบุสเปควัสดุ ขั้นตอน และวิธีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
  3. มีแผนงานที่ชัดเจน ระบุกำหนดการ ช่วงเวลา ระยะเวลา ตามขั้นตอนการทำงานอย่างเหมาะสม
  4. มีสัญญาที่เป็นกลาง เป็นธรรม มีเหตุผล ระบุงวดงานชัดเจน มีการแบ่งงวดงาน เหมาะสมตามราคาและปริมาณงาน การรับประกันผลงาน ค่าปรับหากงานล่าช้า การคิดงานเพิ่ม-งานลด ขั้นตอนการเบิกจ่าย ฯลฯ พยายามเขียนทุกอย่างให้ชัดเจนที่สุด และเป็นที่ยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย
  5. หากมีการพูดคุยกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงงาน และไม่ตรงตามแบบก่อสร้าง ให้ทำหนังสือขออนุมัติแบบ ขั้นตอนก่อสร้าง และราคาทุกครั้ง ห้ามพูดคุยปากเปล่า
  6. ตรวจสอบการใช้วัสดุ และขั้นตอนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ว่าตรงตามที่ตกลงหรือไม่ ในส่วนนี้อาจต้องปรึกษาสถาปนิก หรือวิศวกร เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะบางกรณีอาจเป็นขั้นตอนเชิงเทคนิค
  7. อย่าให้เบิกเงินเกินจากที่ตกลงในสัญญา แต่หากมีความจำเป็นในบางกรณี ให้พิจารณาความเหมาะสม และให้เบิกโดยมีเงื่อนไข หากลองให้เบิกแล้ว ผู้รับเหมาไม่มีสัจจะทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลง ก็จะไม่มีการให้เบิกเป็นครั้งที่สองอีก
  8. หากมีการผิดสัญญาก่อสร้าง ผิดข้อตกลง ให้ตักเตือนก่อน เพราะบางทีอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่หากผิดเรื่องเดิม ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ต้องพิจารณายกเลิกสัญญา
  9. พยายามทำงานตามขั้นตอน มีเหตุมีผล มีระบบแบบแผน มีบันทึกข้อตกลง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหา และแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ได้ง่าย
  10. ปรึกษาสถาปนิก วิศวกร หรือที่ปรึกษางานก่อสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในงานก่อสร้าง หรือช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และเป็นระบบแบบแผนตามมาตรฐานงานก่อสร้าง

สำหรับลำดับขั้นตอน 10 ข้อข้างต้น คงจะช่วยให้ท่านเจ้าของบ้านเห็นแนวทางการบริหารจัดการ หรือการวางแผนที่จะสร้างบ้านกันได้มากขึ้น แต่อย่างไรเสีย ก็ขอให้เข้าใจว่างานทุกงานล้วนมีปัญหา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการกับปัญหานั้นอย่างไรให้เหมาะสมต่างหาก และสุดท้ายด้วยความปรารถนาดี เพื่อให้งานก่อสร้างของทุกท่านราบรื่น ได้มาตรฐาน เรายินดีให้คำปรึกษากับทุกท่านด้วยความยินดีทุกเมื่อ

ให้มืออาชีพช่วยคุณ

ติดต่อรับคำปรึกษาหรือ ติดตามข้อมูลที่มีประโยชน์จาก FIRM


Leave a Reply