สัญญาก่อสร้าง
สัญญาก่อสร้าง ที่ใช้ในการจ้างงานผู้รับเหมานั้น จะเป็นหนังสือที่มีลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับรายละเอียดและข้อตกลงในการจ้างดำเนินการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคาร ที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า
- เจ้าของอาคารจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ทำอะไรบ้าง
- อ้างอิงจากแบบก่อสร้างฉบับใด
- หน้าที่ของแต่ละบุคคลเป็นอย่างไร
- ขอบเขตงานรวมอะไรบ้าง
- ราคาที่ตกลงกันเป็นเท่าไร
- คิดราคารวมหรือไม่รวมอะไรบ้าง
- รูปแบบการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างไร
- เวลาในการก่อสร้างนานเท่าไร
- การคิดค่าปรับกรณีงานล่าช้า
- ประกันผลงานและเงื่อนไขการประกัน
รวมถึงเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาโดยทั้งสองฝ่าย และที่สำคัญต้องแนบแบบก่อสร้าง และบิลปริมาณ(BOQ.) เพื่อใช้เป็นข้อยืนยันว่าจะสร้างตามแบบใด คุณภาพวัสดุ และรายละเอียดค่าของค่าแรงของแต่ละหมวดงานเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ข้อสัญญาควรเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย และได้รับการเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายด้วย โดยผู้ควบคุมงาน หรือผู้ออกแบบมักจะเตรียมสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับมาตรฐานให้ด้วยอยู่แล้ว ซึ่งหากมีการตกลงในการเพิ่มเติม หรือลดเงื่อนไขในสัญญา ก็สามารถทำได้ภายใต้การเห็นชอบของทั้ง 2 ฝ่าย เช่นกัน
ในการทำสัญญาจะต้องมีเอกสารประกอบสัญญา ได้แก่
- ส่วนของการเสนอราคาหรือส่วนของข้อเสนอ (Bid Forms or Proposal Form)
- ส่วนของข้อตกลง (Agreement Forms)
- เงื่อนไขทั่วไปและข้อกำหนดงานก่อสร้างมาตรฐาน (General Conditions and Standard Specification)
- เงื่อนไขพิเศษ (Special Conditions or Special Provisions)
- แบบก่อสร้าง (Drawings)***
- บิลปริมาณ (BOQ.)***
- เอกสารเพิ่มเติม (Addendum)
เรื่องของสัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในการก่อสร้าง ต้องมีความละเอียดรอบคอบในการจัดทำ ซึ่งต้องทำภายใต้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ และได้ประโยชน์เสมอภาคกัน อย่าเข้าใจว่าสัญญาเป็นข้อผูกมัด หรือข้อบังคับในการกดขี่ข่มเหง หรือจ้องจะเอาเปรียบใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แต่ให้มองว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นตัวยืนยันคำมั่นสัญญาว่าผู้รับเหมาจะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับปากไว้อย่างเต็มความสามารถ เจ้าของงานจะจ่ายเงินตรงตามข้อตกลง และเหมาะสมกับงานที่ผู้รับเหมาทำ และผู้ควบคุมงาน หรือที่ปรึกษาก็จะทำงานภายใต้หลักการ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ทุกฝ่ายจะร่วมมือร่วมใจกันที่จะทำตามหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อทำให้งานก่อสร้างนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เพียงเท่านี้งานก่อสร้างก็จะราบรื่น ไม่มีปัญหามากวนใจใครได้อีกต่อไป
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก