Defect ที่โครงการไม่ค่อยอยากแก้
บทความนี้จะมาขอเล่าประสบการณ์การตรวจบ้าน ซึ่งเราได้ทำการรวมรวมข้อมูลจากทีมตรวจบ้านทุกทีมของ FIRM เพื่ออยากจะทราบว่า รายการ Defect แบบไหนกันบ้างที่โครงการเจอแล้ว ต้องถึงกับหน้าถอดสี และไม่ค่อยอยากจะแก้ไข
1. กระเบื้อง
มาที่อันดับแรก และครองแชมป์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กฝึกงานกับโครงการบ้านจัดสรรกันเลยทีเดียว ซึ่งรายการแก้ไขงานกระเบื้องจะเป็นสิ่งที่โครงการไม่ค่อยชอบแก้กันสักเท่าไหร่(แต่เวลาตรวจก็มักเจอกันบ่อย) เหตุผลก็คือถ้าแก้แผ่นใดแผ่นหนึ่งแล้ว แผ่นข้างๆ ก็จะพลอยโดนลูกหลงลามติดเชื้อไปด้วยเสียทุกที อีกเหตุผลก็คือ กระเบื้องที่ปูไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง จะถูกแดด ถูกความร้อน ทำให้สีผิวกระเบื้องดูจืดลง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแผ่นใหม่เข้าไปในดงกระเบื้องเก่า สีก็จะโดดสะดุด ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นปัญหาบานปลายต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งผืนกันเลยทีเดียว รายการแก้ไขงานกระเบื้องส่วนใหญ่ก็อย่างเช่น กระเบื้องล่อน กระเบื้องไม่ได้ระดับ กระเบื้องบิ่น กระเบื้องแตก เป็นต้น
2. น้ำรั่วจากห้องน้ำ
น้ำรั่วจากห้องน้ำ จะบอกว่าเป็นรายการแก้ไขที่ไม่อยากแก้ก็ไม่ได้ เอาเป็นว่าเป็นรายการที่โครงการไม่อยากเจอดีกว่า เพราะรายการนี้ ถ้าเจอขึ้นมามันเกี่ยวพันกับงานหลายงาน ต้องแก้ยาวต่อเนื่องเป็ยหางว่างเลยทีเดียว
3. งานลามิเนต
ลามิเนต มักเกิดการยวบตามขอบบ้างเล็กน้อย ถือเป็นเรื่องปกติ หรือหากจะแก้ไขก็ไม่ยากเย็นเท่าใดนัก แต่ถ้าหากมีการยวบกลางห้องขึ้นมา ต้องรื้อแก้ไขปรับพื้นกันใหม่ งานยาวเช่นกัน
4. สีด่าง ริ้วรอยเฉพาะจุด
แม้จะเป็นรายการเล็กๆ แต่ถ้าเกิดเก็บสีแล้วสีด่างเป็นแนวเฉพาะจุด เฉพาะพื้นที่ โครงการก็ต้องทำใจ ทาให้ใหม่ทั้งผืน เพื่อให้สีเรียบเนียนเสมอกันนั่นเอง
5. งานบนฝ้า งานใต้หลังคา
เหตุผลง่ายๆ สำหรับข้อนี้ คือ ขึ้นไปทำงานยาก อากาศร้อน เลยหาช่างเก็บงานลำบาก
6. งานในที่สูง
เมื่อถึงขั้นตอนการตรวจบ้าน ก็มักจะต้องผ่านขั้นตอนตอนการก่อสร้างมาแล้ว นั่งร้านต่างๆ ที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานก็ถูกรื้อถอนไปแล้ว การที่จะต้องมาตั้งนั่งร้านใหม่ เพื่อเก็บงานเฉพาะจุด จึงเป็นสิ่งที่โครงการไม่ค่อยอภิรมย์เท่าใดนัก ตัวอย่างเช่น แผ่นหลังคามีรอยบิ่น สีเชิงชายด่าง เป็นต้น
7. งานบันได
บันไดส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างเป็นเหล็ก ไม่ก็คอนกรีต ปิดทับด้วยวัสดุไม้ หรืออื่นๆ หากมีรายการให้ต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นบันไดไม่ได้ระดับ ลูกตั้ง ลูกนอน ความกว้างไม่ตรงแบบ หรือมาตรฐาน เป็นต้น งานแก้ไขแบบนี้ต้องรื้อกันยาวเลยทีเดียว
8. โครงสร้างรั้ว หรือที่จอดรถทรุด
การแก้ปัญหาโครงสร้าง เป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก บางทีอาจต้องใช้เครื่องจักร ยิ่งถ้าบ้านสร้างเสร็จแล้วด้วย นี่งานยากไม่ธรรมดาเลย ถ้าหากวิเคราะห์ตามหลักวิศวกรรม รั้วหรือที่จอดรถมีโอกาสทรุดได้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากทรุดเยอะจนน่าเกลียด ก็คงไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่จะต้องมาแบกรับปัญหานี้
จากที่กล่าวข้างต้น เป็นการสรุปจากทีมวิศวกรที่เข้าตรวจบ้านทุกท่านของเรา ซึ่งเราได้ทำการกรอง และคัดเฉพาะที่สาหัส โครงการเจอแล้วต้องคอตกเท่านั้น ซึ่งรายการแก้ไขที่สาหัสรองๆ ลงมาก็ยังมีอีกมาก เราจะค่อยๆ เล่าให้ฟังในลำดับถัดไป แต่อย่างไรก็ดี โอกาสนี้ก็ต้องฝากข้อเตือนใจไว้สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างบ้านขายทุกท่านทราบว่า ลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ ก็ต้องการบ้านที่ใหม่จริงๆ สร้างได้มาตรฐานงานก่อสร้าง หากมีการตรวจสอบแล้ว ท่านทำไม่ได้มาตรฐานก็ควรรับผิดชอบทำการแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อรักษาความไว้วางใจของลูกค้า และชื่อเสียง มาตรฐานงานของโครงการท่านไว้ด้วยนั่นเอง ถ้าทุกคนทำงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกฝ่ายก็สบายใจครับ
บทความล่าสุด
8 ชนิดไม้ดอกให้ร่มเงา
...อ่านเลย คลิกเหล็ก H beam – I beam – Wide flange เหมาะกันงานประเภทไหน
...อ่านเลย คลิกความสำคัญของค่าปรับที่ใช้ในงานก่อสร้าง
...อ่านเลย คลิกการเลือกปั๊มน้ำที่ถูกวิธี ส่งผลดีทั่วทั้งบ้าน
...อ่านเลย คลิกข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก
...อ่านเลย คลิกความแตกต่างทางการใช้งานของ กาวโพลียูรีเทน และซิลิโคน
...อ่านเลย คลิกฉนวนกันความร้อนของบ้านแต่ละประเภท
...อ่านเลย คลิกแยกสัดส่วนห้องน้ำ โซนแห้ง-โซนเปียก
...อ่านเลย คลิก