“บ้าน” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน อย่างที่ทราบกันว่าบางคนต้องทำงานเก็บออมเงินมาทั้งชีวิตเพื่อให้มีเงินพอสำหรับสร้างบ้านสักหลัง แต่ในบางทีภาระและค่าใช้จ่ายยิบๆ ย่อยๆ มักมาโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้รวมเงินเป็นก้อนไม่ได้ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบ้านในตอนนั้น คราวนี้ก็ต้องไปปรึกษาธนาคาร เพื่อกู้เงินในส่วนที่ขาด

ซึ่งการจะไปกู้เงินจากธนาคารเพื่อสร้างบ้าน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้คุณเอง (อย่าลืมมีที่ดินก่อนด้วยนะ ถ้าไม่มี สร้างไม่ได้นะบอกเลย ^^ )

เอกสารที่ต้องเตรียม

1. ใบคำขอสินเชื่อ (ธนาคารเตรียมให้)

2. หนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลเครดิตบูโร (ธนาคารเตรียมให้) : ส่วนนี้เป็นแค่เอกสารให้กรอกก็จริง แต่ข้อมูลในเครดิตบูโรนี้ก็เป็นตัวสำคัญเหมือนกัน ที่ธนาคารจะให้คะแนนประเมินศักยภาพการชำระหนี้ของเราได้ด้วยว่าอยู่ในระดับใด และจะส่งผลต่อยอดเงินกู้ที่จะได้รับด้วย เพราะฉะนั้นควรเคลียร์ประวัติเครดิตบูโรให้ดี หรือเตรียมวางแผนบริหารจัดการหนี้ในมือให้ดีเสียก่อน อย่าปล่อยให้มีการค้างชำระหนี้ การจ่ายหนี้ไม่ตรงเวลา หรือมียอดหนี้เกินกำลัง และศักยภาพในการชำระหนี้

3. สำเนาบัตรประชาชน

4. สำเนาทะเบียนบ้าน

5. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)

6. ใบแสดงสถานภาพ(สมรส, หย่า)

7. เอกสารคู่สมรส(สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน(กรณีสมรส))

8. สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด (หากมี OT, Incentive ให้แนบย้อนหลัง 6 เดือน)
หนังสือรับรองเงินเดือน

9. Statement บัญชีเงินเดือน (แนบย้อนหลัง 6 เดือน) : พยายามอย่าให้ยอดเงินในบัญชีมียอด 0 บาท หรือมียอดคงเหลือในแต่ละรายการ อยู่ในหลักหน่วย หลักสิบ หรือหลักร้อย หากตัวเลขในบัญชีสวยจะช่วยเพิ่มคะแนนประเมินได้อีกทางหนึ่ง

10. สัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน แบ่งงวดงานชัดเจน

11. สำเนาโฉนดที่ดิน หน้า-หลัง

12. แบบแปลนบ้าน ที่ได้รับอนุญาตจากท้องที่แล้ว

13. ใบอนุญาตก่อสร้างจากท้องที่(สนง.เขต, อ.บ.ต., เทศบาล)

14. รายการวัสดุ (BOQ.) BOQ. คืออะไร อ่านได้ในบทความตามลิงค์นี้เลย>>>

ค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อที่ต้องเตรียม

  1. ค่าประเมินหลักประกัน : ราคาประเมินขึ้นอยู่กับธนาคารกำหนด (หลักพันบาท)
  2. ค่าธรรมเนียมสินเชื่อของธนาคาร
  3. ค่าอากรแสตมป์เอกสารธนาคาร
  4. ค่าประกันอัคคีภัยตามที่ธนาคารกำหนด (ตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด)
  5. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้ ชำระที่กรมที่ดิน
  6. ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินจากกรมที่ดิน ชำระที่กรมที่ดิน
  7. ค่าอากรแสตมป์เอกสารกรมที่ดิน ชำระที่กรมที่ดิน
  8. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในกรมที่ดิน (หลักร้อยบาท)

รายละเอียดค่าใช้จ่ายในแต่ละหัวข้อให้ตรวจสอบกับธนาคารเพื่อทราบตัวเลข รวมถึงข้อเสนอ และอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารอีกที จากนั้นนำมาเปรียบเทียบว่าตัวเลขจากธนาคารใด เหมาะสมกับเราที่สุด

จากบทความข้างต้น ทำให้เราทราบได้ทันทีเลยว่าบางทีเราก็อาจไม่จำเป็นต้องมีเงินก้อนโตเพื่อได้มาซึ่งบ้านสักหลัง (ไม่ต้องเครียดแล้ว) แต่เพียงแค่คุณรู้วิธีและขั้นตอนในการกู้เงินจากธนาคาร และรู้จักบริหารการเงินของตัวเอง ทั้งรายรับ รายจ่าย และหนี้สินให้ดี ทำตัวให้เป็นคนมีเครดิตดีๆ เข้าไว้ เตรียมใจพร้อมรับหนี้สินก้อนใหญ่ และที่สำคัญให้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้เพียงพอตามหัวข้อข้างต้น เพียงเท่านี้บ้านในฝันของคุณก็อยู่แค่เอื้อม

ให้มืออาชีพช่วยคุณ

ติดต่อรับคำปรึกษาหรือ ติดตามข้อมูลที่มีประโยชน์จาก FIRM


Leave a Reply